ผู้บริโภคเหล็กหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ เหล็ก T กับ Non T ในประเทศไทยกันมายาวนานทั้งคนในวงการก่อสร้างและนอกวงการบางกลุ่มใช้งานเหล็กเส้นที่มีสัญลักษณ์ T และไม่มี T แต่สำหรับมือใหม่คนทั่วไปอาจจะห่างไกลกับคำนี้อยู่สมควร ดังนั้น วันนี้สตีลเบสท์บาย จะอธิบายให้ผู้บริโภค เหล็กเส้น เข้าใจอย่างง่ายในบทความ เหล็กข้ออ้อย t และ เหล็ก Non-t ต่างกันอย่างไร?

สำหรับผู้ที่ซื้อเหล็กเส้นเบื้องต้นคงทราบดีว่า เหล็กเส้น มี 2 ชนิด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม และ เหล็กเส้นข้ออ้อย ซึ่งสัญลักษณ์ T ที่เกิดขึ้นจะถูกกำหนดให้ใช้ได้ใน “เหล็กข้ออ้อย”
เหล็กข้ออ้อย t และ เหล็กเส้น Non-t คืออะไร?
เหล็กเส้นข้ออ้อย ที่มี “T” คือ เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตเหล็กทางความร้อน (Heat Treatment Rebar หรืออีกชื่อที่รู้จักกัน Temp-Core rebar) ที่ทำให้เหล็กที่ผ่านกระบวนการนี้เย็นขึ้นด้วยการฉีดสเปรย์น้ำ เพื่อทำให้เนื้อเหล็กแข็งแล้วค่อย ๆ เย็นตัวลงโดยไม่ต้องเพิ่มส่วนประกอบทางเคมี ดังนั้น ข้ออ้อย ที่มี “T” จึงมีธาตุคาร์บอน (Carbon) และแมงกานีส (Manganese) น้อยกว่าเหล็กข้ออ้อย Non-t
ส่วนเหล็ก Non-t คือ เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ไม่ผ่านกระบวนการทางความร้อน (Heat Treatment Rebar) ดังนั้นเหล็กที่ผลิตได้ จะได้เป็นเหล็กที่มีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน เท่ากันตลอดหน้าตัด แต่ยังให้ความยืดหยุ่นมากกว่าเหล็กที่ผ่านความร้อนปกติ เนื่องจากมีสารประกอบทางเคมีอย่าง ธาตุคาร์บอน (Carbon) และแมงกานีส (Manganese) สูงกว่า ข้ออ้อย ที่มี “T”
ทำไม เหล็กเส้น ข้ออ้อย จึงมี สัญลักษณ์ “T”
เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar) การมีสัญลักษณ์ T เป็นเครื่องหมายระบุกรรมวิธีการผลิตให้ผู้บริโภคเหล็กทราบเท่านั้น เนื่องจาก สัญลักษณ์ที่เป็นปั๊มนูนบนเนื้อเหล็ก ย่อมาจาก Thermal Mechanically Treated (T.M.T) แสดงถึงกลไกการผลิตเหล็ก ได้แก่
- กระบวนการรีดร้อน รีดเหล็กขณะที่ยังร้อนอยู่ตามรูปทรงที่ต้องการใช้งาน
- กระบวนการทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่นำเหล็กที่รีดร้อนด้วยอุณหภูมิสูงจัด มาฉีดด้วยสเปรย์น้ำ เพื่อให้เนื้อเหล็กเย็นตัวลง จนเนื้อเหล็กแข็งขึ้น
- กระบวนการปล่อยเหล็กเย็นตัวช้า ๆ เมื่อฉีดสเปรย์เรียบร้อยผิวภายนอกเย็นตัวเร็ว แต่ภายนอกนั้นยังคงร้อนอยู่ ซึ่งกระบวนการนี้จะปล่อยให้เหล็กภายนอกเย็นตัวลงช้า ๆ จึงทำให้แกนกลางของเหล็ก ยังคงความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี
สรุป : การที่เหล็กข้ออ้อยสามารถใช้สัญลักษณ์ T มาจากคุณสมบัติของเหล็กที่ได้รับมาตรฐาน มอก. 24-2559 เพื่อให้ผู้ซื้อทราบถึงวิธีการผลิตและคุณสมบัติเฉพาะของเหล็กประเภทนี้

ทำไมเหล็กเส้นกลมถึงไม่มี “T”
หลายคนล้วนเกิดข้อสงสัย เป็นประเภทเหล็กเส้นเหมือนกัน แต่ทำไมจึงไม่มี T สตีลเบสท์บายหาคำตอบเหล่านี้มาให้แล้วในบทความนี้
ทำไมเส้นกลมจึงไม่มีสัญลักษณ์ T นั่น เป็นเพราะ เหล็กเส้นกลม (SR24) มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป โดยเส้นกลมใช้กระบวนการผลิตด้วยการใช้ความร้อนแบบปกติทำให้ กำลังรับแรงดึงและจุดครากไม่เหมือนกัน
สรุป : การที่เหล็กเส้นกลมไม่มีสัญลักษณ์ T มาจากคุณสมบัติและมาตรฐาน มอก. 20-2559 ถูกกำหนดให้ไม่มีสัญลักษณ์ T
ข้อสังเกตระหว่างเหล็กเส้น ข้ออ้อย ที่มี T และ Non-T
- เหล็กข้ออ้อยที่มี T และ Non-T ได้รับมาตรฐาน มอก.24-2559
- เหล็กข้ออ้อยที่มี T ผ่านกรรมวิธีการผลิตทางความร้อน TMT
- ส่วน Non-T ผ่านกรรมวิธีการผลิตทางความร้อนธรรมดา
- เหล็กข้ออ้อยที่มี T มีองค์ประกอบทางเคมีที่ต่ำกว่า Non-T ทำให้เหล็กสามารถเชื่อมและขึ้นรูปได้ง่ายกว่า
- เหล็ก Non-T มีองค์ประกอบทางเคมีตามข้อกำหนดจึงทำให้เหล็กแข็งแรง เป็นต้น
ประเภทเหล็ก | เหล็กข้ออ้อย t | เหล็กข้ออ้อย Non-t |
คุณสมบัติ | ได้รับมาตรฐาน มอก. 24-2559 | ได้รับมาตรฐาน มอก. 24-2559 |
การรับความล้า | รับได้ปานกลาง | รับได้สูง |
ผลกระทบจากความร้อน | กำลังลดลงเกิน 20% | กำลังลดลงน้อยกว่า 20% |
การเชื่อม | เชื่อมง่ายกว่า แต่กำลังจะลดลง | เชื่อมยากกว่า และ กำลังคงเดิม |
ทำเกลียวข้อต่อเชิงกลและการกลึงลดขนาด | เสียกำลังที่บริเวณผิวนอกของเหล็ก | ความแข็งแรงเท่ากัน เหล็กจึงไม่เสียกำลัง |
การนำไปใช้งาน | ใช้งานสำหรับเหล็กโครงสร้างทั่วไป | ใช้กับงานโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องรับแรงซ้ำ |
กระบวนการผลิต | Thermal Mechanically Treated | Hot Rolled Structural Steel |
เหล็กข้ออ้อย t และ เหล็ก Non-t ต่างกันอย่างไร?
คุณสมบัติ/ลักษณะ | เหล็กข้ออ้อยที่มี T | ข้ออ้อย Non-T |
กระบวนการผลิต | ผ่านกระบวนการ Temp-Core ถูกกระตุ้นด้วยการทำให้เย็นเร็วด้วยสเปรย์น้ำ และปล่อยให้แก่นกลางค่อย ๆ เย็นตัวช้า ๆ จนเกิดความเหนียว | ผ่านกระบวนการรีดร้อนแบบธรรมดา ถูกกระตุ้นให้เย็นตัวลงตามอากาศธรรมชาติ ดังนั้นเนื้อเหล็กจึงเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งหน้าตัด |
โครงสร้างภายใน | มีเนื้อ 2 ชั้น | โครงสร้างเนื้อเดียว |
องค์ประกอบทางเคมี | คาร์บอนและแมงกานีสต่ำกว่า | คาร์บอนและแมงกานีสสูงกว่า เพื่อความแข็งแรง |
คุณสมบัติทางกล | ผิวมีความแข็งแรงและรับแรงดึงได้ดี แกนกลางมีความเหนียวและความยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงล้า | ความแข็งแรงตามมาตรฐาน มอก. ส่วนความเหนียวและความล้ารับได้ปานกลาง |
การดัดโค้ง | ดัดได้ง่ายกว่า และโอกาสแตกร้าวน้อยกว่า | เนื้อมีความแข็งทำให้มีโอกาสปริแตกง่ายกว่า |
การเชื่อม | เชื่อมได้ง่ายกว่า | เชื่อมค่อนข้างยากต้องใช้เทคนิคเฉพาะในการเชื่อม |
การใช้สัญลักษณ์ | มีสัญลักษณ์ตัวนูนอักษรตัว "T" | ไม่มีสัญลักษณ์ตัวนูนอักษรตัว "T" |
การนำไปใช้งาน | 1.เหมาะกับงานโครงสร้างทั่วไป เช่น บ้าน, อาคาร, โรงงาน เป็นต้น 2.แต่ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องมีการกลึงหรือทำให้ผิวของเหล็กหายไป 3.เนื่องจากความแข็งแรงของเหล็กอยู่ที่ผิวด้านนอก 4.ในด้านการใช้งานจึงต้องระมัดระวัง 5. มีผู้เชี่ยวชาญประเมินก่อนใช้งานเพื่อความปลอดภัย | 1.เหมาะกับงานกรมทางหลวง เช่น งานสะพาน, ก่อสร้างอุโมงค์ 2.นำไปใช้กับงานที่มีการกลึงหรือเจาะได้ 3.ทนต่อความเสียหายที่ผิวเหล็กดีกว่า 4.เหล็กมีความแข็งแรงกระจายตลอดเส้น 5.การใช้งานต้องมีผู้เชี่ยวชาญประเมินก่อนใช้งานเพื่อความปลอดภัย |
เหล็ก SD40 และ SD40T คืออะไร?
หลายคนคงเคยได้ยินเมื่อต้องใช้งานเหล็กข้ออ้อย แล้วจริง ๆ เหล็ก SD40T คือ ชื่อเรียกชั้นคุณภาพ โดย SD คือ ค่ากำลังแรงดึง หรือ MPa เช่น SD40 มีกำลังแรงดึงต่ำ 400 Mpa ส่วน T ย่อมาจาก Thermal Mechanically Treated
SD40T คือ เป็นชื่อเรียกชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยด้วยกระบวนการ Thermal Mechanically Treated ใช้สเปรย์น้ำฉีดบน เหล็กเส้น เพื่อทำการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงคุณสมบัติของเหล็กข้ออ้อยที่มี T อีกด้วย
เกรดเหล็ก ข้ออ้อย ตามมาตรฐาน มอก. 24-2559
เกรดเหล็กข้ออ้อย มอก.24-2559 | ค่าความต้านทาน แรงดึง MPa | ค่าความต้านทานแรงดึง ที่จุดคราก MPa | ความยืด (%) | การนำไปใช้งาน |
ข้ออ้อย SD30 | 480 | 295 | 17 | ใช้ในงานทั่วไปที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ซึ่งปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้ |
ข้ออ้อย SD40 | 560 | 390 | 15 | งานก่อสร้างทั่วไป |
ข้ออ้อย SD50 | 620 | 490 | 13 | โครงสร้างที่รับแรงมาก เช่น งานเสาเข็ม, ฐานราก, ตอม่อ |
ขอขอบคุณข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4803 (พ.ศ.2559): มอก. 24-2559
เช็กราคาเหล็ก ที่ สตีลเบสท์บาย เหล็กมากกว่า 2,000 รายการ ครบจบที่นี่
สตีลเบสท์บาย เป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลเหล็ก และบริการจำหน่ายเหล็กครบวงจร ดังนั้นไม่ว่าผู้บริโภคจะต้องการ เหล็กเส้น ประเภทไหน หรือเหล็กชนิด ๆ เราก็มีครบ รวมไปถึง เราให้บริการเช็กราคาเหล็กด้วยตนเองฟรี 24 ชั่วโมง เช็ก ราคาเหล็กวันนี้
คลิกเพิ่มเติม หรือสอบถามข้อมูลเหล็กและขอใบเสนอราคาภายใน 15 นาที ที่ LINE ID สตีลเบสท์บาย @steelbestbuy
รายการ เหล็ก เส้น | น้ำหนัก/กิโลกรัม | ราคา/กก. (บาท/กก.) | ราคา/เส้น |
เหล็ก RB6 | 2.22 กก. | 21.55 | 47.83 |
เหล็ก RB9 | 4.99 กก. | 21.13 | 105.46 |
เหล็ก DB12 | 8.88 กก. | 20.31 | 180.35 |
เหล็ก DB16 | 15.78 กก. | 20.10 | 317.22 |
เหล็ก DB20 | 24.66 กก. | 20.10 | 495.73 |
เหล็ก DB25 | 38.53 กก. | 20.31 | 782.49 |
ราคานี้เป็นเพียงราคาเงินสด รับเอง ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบอีกครั้งก่อนสั่งซื้อ)
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่