ราคาเหล็กประจำวัน

สตีลเบสท์บาย ครบเครื่องเรื่องเหล็ก ให้บริการจำหน่าย เหล็กทุกชนิด เหล็กราคาโรงงาน มาตรฐาน มอก. โดยสามารถเช็คราคาเหล็กประจำวัน และตารางราคาเหล็กได้ทุกวันแบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง พร้อมเช็คราคาเหล็กได้ที่นี่

ราคาเหล็กวันนี้

ประจำวันที่ 05/05/2024

ตารางอัปเดตราคาเหล็กเส้น

ราคาประจำวันนี้ วันที่ 02 พฤษภาคม 2567
ชื่อรายการสินค้าน้ำหนักราคา / กก.ราคา / เส้นราคาอ้างอิง (22/04/67)สอบถามราคาผ่านไลน์
RB62.2221.5347.800.00%สอบถามราคา
RB94.9921.04105.000.00%สอบถามราคา
DB128.8820.10178.50+0.56%สอบถามราคา
DB1615.7819.90314.00+0.64%สอบถามราคา
DB2024.6619.87490.00+0.62%สอบถามราคา
DB2538.5319.85765.00+0.53%สอบถามราคา

ตารางอัปเดตราคารวม

ราคาประจำวันนี้ วันที่ 02 พฤษภาคม 2567

สั่งง่าย! ขอใบเสนอราคาได้ภายใน 15 นาที

สตีลเบสท์บายการันตี สินค้าดีมีคุณภาพ มาตรฐาน มอก. 100 % สามารถสอบถามทุกคำสั่งซื้อ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

บทวิเคราะห์ราคาเหล็กประจำสัปดาห์

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันราคาเหล็ก ไม่มีเจ็บตัว

         ปัจจุบันเราทราบกันดีว่าในปี 2566 นั้น ตลาดอุตสหกรรมเหล็กในประเทศไทยมีความผันผวนอย่างมากจากหลาย ๆ ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นราคาเหล็กโลกที่ปรับตัวลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังมีผันผวนสูง แม้แต่ในอุตสหรรมเหล็กในประเทศจีนเองก็เป็นอีกหนึ่งในกำลังผลิตของไทย ช่วงปลายปี 2566 จะเป็นช่วงฤดูกาล ที่ต้องพักกำลังผลิตภายในประเทศจีน ทางประเทศไทยจะไม่ได้รับเหล็กนำเข้ามาได้ตามจำนวนที่ต้องการ หรือจะเป็นการใช้เหล็กในประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ของภาครัฐในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลเมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นต้น

         ผลกระทบเหล่านี้ล้วนส่งผลไปทุกส่วนทั้งคนในวงการเหล็กและผู้ซื้อทั่วไป ดังนั้นหากเราอยากจะทราบแนวโน้มของราคาเหล็กในปี 2567
เราจะทราบได้อย่างไรว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาเหล็กปรับตัวขึ้นลงตลอดเวลา วันนี้สตีลเบสท์บายมีคำตอบให้

ราคาเหล็กปรับขึ้นลงเกิดจากอะไร?

         เนื่องจากในทุก ๆ ปี ราคาเหล็กเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเราจะคาดคะเนราคาได้ยังไงแล้วปัจจัยใดที่ทำให้ราคาเหล็กผันผวนได้ขนาดนี้
สตีลเบสท์มีวิธีการดูดังคำอธิบายต่อไปนี้

“STEEL NEVER GROW ON TREE” 

         โดยความหมายก็คือ เหล็กไม่ได้งอกขึ้นมาเองได้เหมือนผลิตผลทางการเกษตร คำนี้หมายความว่า Supply ของเหล็กทั่วโลกมีที่มาที่ไปและสามารถคาดเดาและคำนวณได้แบบแม่นยำมากซึ่งเป็นไปตามหลัก Supply – Demand จึงสามารถคาดเดาได้ง่ายกว่าสินค้าประเภทอื่น ๆ อย่างเช่น ข้าว ยางพารา น้ำตาล ซึ่งยากต่อการคาดคะเนราคามากกว่า ดังนั้นหากเรา อยากจะทราบ Supply – Demand ของอุตสาหกรรมเหล็กอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงกลไกราคา ผมจะอธิบายได้ดังนี้

กลไกของราคาเกิดจากปัจจัยอะไร?

  • Demand โลก ประมาณ 1,600 ล้านตัน ต่อปี โดยอ้างอิงใน ปี 2559 โดยปัจจุปัน Demand โลก อยู่ที่ประมาณ 1,800 ล้านตัน ต่อปี
  • Supply โลก มี ผลผลิต (Crude output) ที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ กำลังผลิต (Capacity) โลก เรามีความสามารถในการผลิตเหล็กมากกว่าความต้องการใช้เหล็ก ซึ่งในประเทศมีปริมาณการใช้เหล็ก เฉลี่ย 18 ล้านตันต่อปี ขณะที่ปริมาณการผลิตในประเทศโดยเฉลี่ยมีอยู่เพียง 7 ล้านตันต่อปี คิดเป็น 50% – 70% เท่านั้น จึงส่งผลให้จำเป็นต้องมีการนำเข้าเหล็กจำนวนมาก
  • ประเทศจีน เป็นเจ้าของผลผลิต (Crude output) ถึงครึ่งนึงของทั้งโลก คือประมาณ 808 ล้านตันต่อปี โดยที่ผลผลิตมหาศาลของจีน ส่วนใหญ่ถูกใช้ภายในประเทศ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีส่วนเกิน โดยเฉลี่ย 100 ล้านตันต่อปี ถูกส่งออกไปขายทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการนำเข้า ปี 2016 อยู่ที่ 17.2 ล้านตัน

จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้เราได้ข้อสรุปราคาเหล็กประเทศไทยดังนี้

  • ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทย นับเป็นเพียง 1% ของทั้งโลก แทบจะเรียกได้ว่าเล็กมากจนไม่มีนัยสำคัญในตลาดโลกเลย
  • ประเทศไทยไ่ม่มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ถลุงเหล็กใช้เองไม่ได้ เหล็กที่ใช้งานในประเทศเกือบ 100% มาจากการนำเข้าทั้งหมด ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
  • ตัวเลขแตกต่างระหว่าง Demand = 19 ล้านตัน กับ Import = 17.2 ล้านตัน เกิดจากการ Recycle เศษเหล็กในประเทศประมาณ 1.5 ล้านตัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก

ตัวอย่างดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนตุลาคม ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 89.38 หดตัวร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2565 ส่งผลให้ช่วง 10 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.04 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า

         “ราคาเหล็กในประเทศไทย ขึ้นลง ตามราคาเหล็กโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับราคาน้ำมัน ”การจะคาดเดาแนวโน้มราคาเหล็กในประเทศไทย เราจะต้องมีความเข้าใจความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของราคาเหล็กโลกเป็นอย่างดีก่อนจึงจะคะเนราคาเหล็กออกมาได้ อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงยังมีปัจจัยแวดล้อมอีกหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อราคาเหล็กในไทย อีกมาก อาทิ เช่น
1) กฎหมาย AD, Safeguard หรือก็คือ มาตรการภาษีเพื่อปกป้องราคาเหล็กภายในประเทศ
2) กฎหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
3) ปริมาณสต็อค ในช่วงเวลาต่างๆ
4) สภาพคล่องในตลาด

และในช่วงปี 2566 นี้ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างใหม่ ๆ ของภาครัฐ ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล เมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา ส่งผลต่อการอนุมัติงบประมาณประจำปี 2567 ที่เกิดล่าช้านั้น ผมคาดการณ์ไว้ว่าทางผู้ซื้อเหล็กรายย่อย และรายใหญ่จะต้องการเหล็กมากขึ้นคือช่วงเดือน มกราคม-เมษายน ปี 2567 (เป็นหน้าขายเหล็ก 1 ถึง 4 เดือนแรก เหล็กจะขายได้เยอะที่สุดในทุกปี) ซึ่งทางสตีลเบสท์บายเองก็มีการเตรียมตัวใน ปี 2567 ที่จะมาถึง ในการจำหน่ายเหล็กก่อสร้างทุกชนิดเพื่อให้ผู้ซื้อมีทางเลือกที่หลากหลายขึ้น สามารถติดต่อได้ที่ Line Official : @steelbestbuy