เหล็กบีม-กับเคล็ดลับดูแล-ให้ทนทาน-ใช้งานได้นานปี

เหล็กบีม กับเคล็ดลับดูแล ให้ทนทาน ใช้งานได้นานปี

เหล็กบีม หรือ เหล็กเอชบีม เหล็กไอบีม เหล็กไวด์แฟรงค์ เหล็กโครงสร้างที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย เพียงทำตามเรา วิธีดูแลของสตีลเบสท์บายในบทความนี้

เหล็กบีม-เพื่องานโครงคานสร้างสุดแกร่ง!
เหล็กเอชบีม

ขึ้นชื่อว่า “เหล็ก” ไม่ว่าจะใช้งานเหล็กประเภทไหน ก็ต้องการดูแลเป็นพิเศษ

เพราะการดูแลที่ดีและถูกต้องช่วยให้โครงสร้าง แข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนานขึ้น

เหล็กบีม เพื่องานโครงสร้างคานสุดแกร่ง!

ก่อนอื่นเราต้องรู้ถึงข้อดีของเหล็กโครงสร้างก่อนว่า เราเลือกนำมาใช้งานถูกต้องกับงานที่กำลังทำในปัจจุบันหรือไม่? หากคำตอบคือ “ใช่” ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพร้อมวางเหล็กในจุดที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ควรทำ

เหล็กบีมคืออะไร?

บีม หรือที่หลายๆ คน มักเรียกไอบีม (I-Beam), เอชบีม(H-Beam), ไวด์แฟรงค์ (Wide Flange) คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ประเภทเหล็กคานโครงสร้างที่ใช้ในการรับน้ำหนักด้วยการถ่ายเทน้ำหนักลงเสาหรือกำแพงจากอีกเสาหนึ่งไปยังอีกเสา รอบๆเชื่อมคานรับภายในงานก่อสร้างเข้าด้วยกัน และอย่างที่เราทราบกันว่าบีมเป็นเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดแล้วตัดตามรูปทรงเพื่อนำมาใช้งานให้เหมาะสม ดังนั้นลักษณะและวิธีการทำงานจึงแตกต่างกัน ซึ่งบีมมักจะมีชื่อเรียกตามลักษณะ ดังนี้

    • เหล็กเอชบีม (H-Beam) ข้อสังเกตสำหรับการเรียกว่าเอชบีมเพราะลักษณะหน้าตัดของเหล็กนั้นคล้ายกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเอช (H) แบบตั้งตะแคง โดยที่มุมตัดมีการตั้งเป็นมุมฉาก ส่วนฐานเอชบีมจะเห็นว่ามีปีกบนและปีกล่างยืดตรงเป็นแผ่นเรียบหนาเท่ากันตลอด ส่วนแกนที่มีขนาดกว้างช่วยในการรับน้ำหนักโครงสร้างแต่อาจจะรับแรงกระแทกได้ไม่มากนัก ตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น งานสถาปัตยกรรม, คานรับน้ำหนัก, เสารับน้ำหนัก, โครงหลังคา เป็นต้น
    • เหล็กไอบีม (I-BEAM) ข้อสังเกตเดียวกับของเหล็กบีมคือลักษณะหน้าตัดเหล็กนั้นคล้ายกับตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวไอ (I) ด้วยลักษณะที่พิเศษเราจะเห็นว่า ปีกหนามีโคนที่ทำมุมโดยสังเกตได้ว่าเหล็กจะโค้งลู่เข้าหลบเหลี่ยมจากแกนกลางจนถึงปลายเหล็กซึ่งทำให้เหล็กเกิดแรงต้านและรับแรงบิดของโครงสร้างได้กว่าเหล็กประเภทอื่น ๆ ทำให้การนำไปใช้งานเหล็กจะเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น งานเสาส่งไฟฟ้า, รางรถไฟ, รางเลื่อนสินค้าในโกดัง, โรงงาน, แหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
    • เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide Flange) เหล็กตัวนี้มักมีหลายคนสับสนเพราะมีลักษณะที่คล้ายกับ เหล็กเอชบีม แต่จริง ๆ แล้วยังมีหลายจุดที่เราเห็นความต่างได้อย่างลักษณะแผ่นเหล็กมีความบางกว่าเหล็กเอชบีม ส่วนปีกบนและปีกล่างที่เรียกว่า Wide Flange จะกว้างกว่าเหล็กเอชบีม ด้วยเหตุนี้ทำให้ เหล็กไวด์แฟรงค์ สามารถรับแรงสะเทือนในแนวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความซับซ้อนของโครงสร้าง ตัวอย่างเช่น  เสา, งานคาน, งานโครงหลังคา, อาคารสาธารณะ  เป็นต้น
เผยเคล็ดลับดูแล-เหล็กเอชบีม-ไอบีม-และไวด์แฟรงค์-ที่-SBB
H-beam

เหล็กบีม ขนาด เริ่มต้น สำหรับสายก่อสร้างขนาดใหญ่

เหล็กบีมทั้ง 3 ประเภท มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันทั้งลักษณะและการนำไปใช้งาน โดยหลักการเลือกเหล็กบีม สตีลเบสท์บายแนะนำให้เลือกตามขนาด ความหนา และเกรดของเหล็ก อีกทั้งอย่าลืมคำนวณโครงสร้างเพื่อนำมาใช้อย่างถูกหลักด้วย

  • เหล็กเอชบีม มีขนาดมาตรฐานที่ใช้กันในกลุ่มผู้จำหน่าย คือ มอก.1227-2558 เกรดชั้นคุณภาพ SS400, SS490, SS540, SM490, SM490, SM520 ตามความยาว มาตรฐาน 6 เมตร 9เมตร 12 เมตร โดยผู้ซื้อนิยมนำไปใช้งานมีขนาด เริ่มต้นที่ 100x100x6x8x6 เมตร จนถึง 400x400x13x21x6 เมตร
  • เหล็กไอบีม มีขนาดมาตรฐานที่จำหน่ายทั่วไป คือ มอก. 1227-2558 เกรดชั้นคุณภาพ SS400, SS490, SS540, SM490, SM490, SM520 ตามความยาว มาตรฐาน 6 เมตร 9เมตร 12 เมตร โดยผู้ซื้อนิยมนำไปใช้งานมีขนาด เริ่มต้นที่ 150x75x5.5×9.5×6 เมตร จนถึง 600x190x13x25x6 เมตร
  • เหล็กไวด์แฟรงค์ มีขนาดมาตรฐานที่จำหน่ายทั่วไป คือ มอก. 1227-2558 เกรดชั้นคุณภาพ SS400, SS490, SS540, SM490, SM490, SM520 ตามความยาว มาตรฐาน 6 เมตร 9เมตร 12 เมตร โดยผู้ซื้อนิยมนำไปใช้งานมีขนาด เริ่มต้นที่ 100x50x5x7x6 เมตร จนถึง 900x300x16x28x6 เมตร เป็นต้น

แม้ว่าเป็นเหล็กโครงสร้างที่เหมือนกัน เราจะเห็นว่าขนาดที่นำไปใช้ขึ้นอยู่กับขนาดและ ความหนา ดังนั้นก่อนเลือกใช้งานควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเหล็กอย่างสตีลเบสท์บาย แม้ลูกค้าจะเลือกขนาดและความหนาไม่เป็น ทักหาเราได้เลย เรายินดีให้ใบเสนอราคาอย่างถูกต้อง และพร้อมให้คำแนะนำทุกขั้นตอน เพียงเพิ่มเพื่อนไลน์ที่นี่ @steelbestbuy 

หรือหากงานนั้นขนาดใหญ่อย่างงานโปรเจคงานโครงการ เราแนะนำให้ปรึกษาวิศวกรเฉพาะงาน เนื่องจากงานที่ทำเป็นงานโครงสร้างขนาดใหญ่ต้องมีความรอบคอบเป็นอย่างสูง

เผยเคล็ดลับดูแล เหล็กเอชบีม ไอบีม และไวด์แฟรงค์ ที่ SBB

  • เมื่อเรารู้แล้วว่าเหล็กบีมคืออะไร วิธีการดูแลจัดเก็บ เหล็กทั้งสามประเภท จึงหาคำตอบได้ไม่ยาก เนื่องจากเหล็กทุกประเภท มีเพียงไม่กี่อย่างที่ต้องหลีกเลี่ยง อย่างเช่น “สนิม” ตัวร้ายทำลายเหล็กโครงสร้าง ยิ่งต้องหาวิธีดูแลรักษาเป็นอย่างดี
  • ดังนั้นเรามาดู เคล็ดลับในการดูแลรักษาเหล็กบีมให้คงทนกันดีกว่า
    • เลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและโครงสร้าง การเลือกใช้วัสดุที่ถูกต้องและจัดวางในพื้นที่ในสภาพแวดล้อมที่ดีช่วยลดอัตราการเกิดสนิมและลดเวลาการบำรุงรักษาที่ซ้ำซ้อนขึ้นได้
    • เมื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่และสภาพแวดล้อมไม่ได้ ควรจัดเตรียมสีทากันสนิมเพื่อป้องกันการเสื่อมประสิทธิภาพที่ไวจนเกินไป
    • ทาสีกันสนิมทุกจุดที่คิดว่าสนิมและความชื้นจะเกิดขึ้นทั้งรอยเชื่อมจุดเล็ก ๆ เราต้องกันให้ครบ
    • พื้นที่จัดเก็บเมื่อยังไม่ถึงเวลาใช้งาน ควรสำรวจพื้นที่ที่ห่างไกลความชื้น ฝุ่นต่าง ๆ หากอยู่ที่แจ้งควรหาผ้าคลุม ป้องกันแดดและฝน
    • วิธีนี้สำคัญที่สุด ก็คือ หมั่นตรวจเช็กสภาพและบำรุงรักษาตามระยะเวลา ช่วยให้เราเห็นจุดบกพร่อง และรู้แหล่งที่มาของสนิมได้เร็วขึ้น

เหล็กบีม ราคาเท่าไหร่ ทำไมจึงเป็นที่นิยมสำหรับงานโครงสร้าง

สตีลเบสท์บายให้บริการ จำหน่ายเหล็กบีม 100x100x6x8 mm ยาว 6 เมตร ราคา 2,966.12 บาท/เส้น โดย ราคา เหล็กเอชบีม มีราคากลาง ประมาณ 28.74 บาท / กิโลกรัม ติดตามราคาต่อไปนี้ที่นี่ ราคาเหล็กบีม คลิกเลย

เช็กตาราง ราคา H-beam, I-Beam, Wide flange ทุกวัน

สำหรับผู้ที่สนใจใช้งานผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างประเภทคานรองรับน้ำหนัก ในราคาที่จับต้องได้ SBB คือคำตอบ สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเหล็กโครงสร้างคุณภาพ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้รับเหมา เพราะเรามีรายการสินค้ามากกว่า 2,000 รายการ จากการเลือกแหล่งผู้จัดจำหน่ายมากกว่า 20 ร้านค้า มาช่วยในเปรียบเทียบราคาแทนผู้ซื้อให้ผู้ซื้อไม่ต้องยุ่งยากกับการหาราคาอีกต่อไป

เพียงเพิ่มเพื่อน @steelbestbuy และสำหรับผู้อ่านท่านใด ต้องการ เช็ก ขนาด เหล็ก h beam หรือ เช็ก ราคา เหล็กบีม วันนี้ อยากได้ทำงาน เสา เอชบีม งานโครงสร้าง เหล็ก beam สามารถติดตามราคาได้ทุกวันที่นี่ เช็กราคาเหล็กบีม คลิกเพิ่มเติม หรือ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Tel : 061-416-7892

Facebook Messenger : SteelBestBuy

Line@ : @steelbestbuy

Share This Post With Others!

Facebook
Twitter
LinkedIn