เหล็กเส้น วัสดุก่อสร้างที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการใช้งานอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะใช้สร้างงานไหน ๆ ใคร ๆ ก็นึกถึง เหล็กเส้นก่อนอันดับแรก ดังนั้นแล้ว สตีลเบสท์บาย เล็งเห็นว่าเหล็กเส้น ที่สำคัญเช่นนี้ ควรค่าแกการเรียนรู้ และติดตาม ราคาเหล็กเส้น ไว้ตลอด ดังนี้ วันนี้ SBB หาคำตอบในเรื่องราคามาให้ในบทความนี้ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกับ เหล็กเส้นอย่างแท้จริง
SBB ชวนทำความรู้จัก ชั้นคุณภาพของ เหล็กเส้น
เพราะการรู้ราคาล่าสุดเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เจ้าของบ้าน เจ้าของโครงการ หรือผู้รับเหมาให้สามารถเตรียมงบประมาณได้อย่างแม่นยำ ซึ่งก่อนจะรู้ราคาที่แท้จริง จะต้องรู้ก่อนว่า เหล็กเส้นคืออะไร เกรดคุณภาพเป็นแบบไหน เราหาคำตอบมาให้เรียบร้อย
เหล็กเส้น (Steel Bars) คืออะไร
เหล็กเส้น คือ เหล็กรูปพรรณโครงสร้างที่นิยมใช่ก่อสร้างงานทั่ว ๆ ไป เช่น สร้างบ้าน อาคาร คอนโด อาคารพาณิชย์หลายชั้น ถนน สะพาน คาน พื้น งานผนังก่ออิฐ โดยใช้เพื่อจุดประสงค์ของการช่วยเสริมงานคอนกรีต ให้งานก่อสร้างยึดกับโครงสร้างแน่นและทนทานมากขึ้น ซึ่งเหล็กเส้นที่เราใช้งานจะสามารถใช้งานได้สองประเภทก็คือ
1.เหล็กเส้นกลม (Round Bar)
เส้นกลม คือ เหล็กเส้นโครงสร้างรูปพรรณผ่านกระบวนการรีดร้อน โดยในวงการช่างหรือผู้รับเหมาจะเรียกเหล็กชนิดว่า เหล็ก RB, เหล็กเส้นพับ, เส้นกลม, หุน, เหล็กเส้น, ที่เรียกกันติดปาก ส่วนรูปทรงและลักษณะเหล็กเส้นกลมจะมีหน้าตัดที่เป็นเอกลักษณ์คือ กลมเกลี้ยง ผิวไม่ขรุขระ ไม่มีลูกคลื่น ไม่มีรอยแตกร้าว ที่สำคัญคือไม่ควรเป็นสนิมขุม เกิดขึ้นเด็ดขาด
ส่วนตลอดเส้นตรงยาว ขนาดมาตรฐาน 6 และ 9 มิลลิเมตร มักถูกนำไปใช้ทำงานเช่น ปลอกในคาน หรือเสา ส่วนเหล็กขนาด 12 มิลลิเมตร ความยาวที่นิยมใช้ 10 เมตร/เส้น ก็จะนำไปใช้งานที่เป็นงานเสริมคอนกรีตขึ้นไป เพราะเส้นกลม สามารถรับแรงที่จุดครากประมาณ 2,400 ksc. หรือที่รู้จักกันใน ชั้นคุณภาพสำหรับเหล็กเส้นกลม SR24 ที่มาตรฐานการรับรองอุตสาหกรรม มอก.บังคับ 20-2559 เป็นต้น
2.เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar)
ข้ออ้อย คือ เหล็กเส้นโครงสร้างรูปพรรณผ่านกระบวนการรีดร้อน โดยในวงการช่างหรือผู้รับเหมาจะเรียกเหล็กชนิดว่า เหล็ก DB, เหล็กบั้ง, บั้ง, เหล็กข้ออ้อย, เรียกสั้น ๆ จำง่าย ก็จะเป็น ข้ออ้อย
เมื่อมี 2 ประเภท อย่างนี้แล้ว ทั้งสอง มีความแตกต่างกันอย่างไร ในเมื่อ เป็นเหล็กเส้นเหมือนกัน เช่นนั้น เราจะอธิบาย ความเหมือนและความแตกต่างกันต่อเลยดีกว่า ส่วนรูปทรงและลักษณะเหล็กเส้นกลมจะมีหน้าตัดที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เหล็กหน้าตัดกลมปล้อง เส้นตรงยาวเป็นปล้อง มีบั้ง บริเวณตัวเหล็กที่คล้ายต้นอ้อย ขนาดที่พบบ่อยคือเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร ความยาวเหล็กที่ 10-12 เมตร/เส้น
ถ้าสังเกตจะเห็นครีบและบั้งที่ผิวเหล็กชัดเจน ส่วนอื่นของเหล็กก็ไม่ควรจะมีรอยปริแตกร้าว บั้งสม่ำเสมอตลอดเส้น ที่สำคัญคือไม่ควรเป็นสนิมขุม เกิดขึ้นเด็ดขาด ข้ออ้อย สามารถรับแรงที่จุดครากประมาณ 3 ประเภท คือ
- SD30 คือ เหล็กที่มีกำลังสามารถรับแรงที่จุดคราก 3,000 ksc.
- SD40 คือ เหล็กที่มีกำลังสามารถรับแรงที่จุดคราก 4,000 ksc.
- SD50 คือ เหล็กที่มีกำลังสามารถรับแรงที่จุดคราก 5,000 ksc.
โดยใช้มาตรฐานการรับรองอุตสาหกรรม มอก.บังคับ 24-2559 เป็นต้น
มือใหม่สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ มอก. เหล็กเส้น และ ราคาเหล็กเส้นวันนี้
ตามหลักการก่อสร้างเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันการเกิดอันตรายในระยะยาว ประเทศไทยได้มีการนโยบายการกำหนดวัสดุก่อสร้างทุกชนิดให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กรมอุตสาหกรรมกำหนด ดังนั้นเหล็กเส้น เช่นกันที่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานเป็นไปตามคุณสมบัติ ที่ใช้สำหรับงานโครงสร้าง
และเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้เหล็กได้คุณภาพอย่างทั่วถึงประเทศไทยจึงได้มีการแก้ไข มอก. สำหรับเหล็กก่อสร้าง โดยให้มีผลบังคับใช้กับโรงงานผู้ผลิตเหล็กเส้นทุกโรงงานที่ผลิต
ซึ่งจะใช้วิธีการระบุ EF ในกระบวนการหลอมให้เหล็กสะอาด และคุณภาพดี พร้อมเปลี่ยน มาตรฐานเดิมที่ใช้งาน จาก มอก. 20-2543 เป็นมอก.20-2559 (สำหรับเหล็กเส้นกลม) ส่วน มอก.24-2548 เป็นมอก. 24-2559 (สำหรับเหล็กเส้นข้ออ้อย)
แล้ว มอก. ฉบับใหม่นี้มีการแก้ไขอย่างไร?
- เพิ่มความเข้มงวด ต่อผู้ผลิตตั้งแต่วัตถุดิบจนกระบวนการผลิต โดยจะเคร่งครัดต่อกระบวนการหลอมมากที่มากขึ้น
- ทุกเส้นจะต้องมีอักษรปั๊มตัวนูนบนเนื้อเหล็ก เพื่อแสดงรายละเอียดให้ผู้บริโภคเลือกใช้งานอย่างชัดเจน
- เข้มงวดกับสินค้าที่นำเข้ามามากขึ้น โดยระบุชื่อ ผู้จำหน่ายและนำเข้ามา หากกรณีเกิดปัญหาเนื่องจากการใช้งาน จะสามารถระบุผู้รับผิดชอบเบื้องต้นได้
- เข้มงวดกับส่วนผสมธาตุเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น ด้วยการเพิ่มธาตุ อีก 15 ธาตุ ที่ส่งผลให้เหล็กมีคุณภาพมากขึ้น
- ทุก ๆ มาตรฐานที่กำหนด ผู้จำหน่ายจะต้องมีข้อมูลแสดงครบถ้วนชัดเจน เพื่อแสดงถึงคุณภาพที่ได้มาอย่างถูกต้อง
นอกกระบวนการหลอมดังกล่าวในมาตรฐานใหม่ มีการหลอมแบบไหนอีกบ้าง?
- EF หรือ Electric Arc Furnace เป็นวิธีการใช้งานเตาหลอมที่ใช้ความร้อนจากความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่เรียกว่า การอาร์ค ในการหลอมเหล็กให้ได้คุณภาพและประหยัดพลังงานในการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ
- IF หรือ Induction Furnace คือวิธีการเปิดเตาหลอมที่ใช้ความร้อนจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้าในการหลอม ด้วยการใช้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพสูง โดยวิธีนี้ช่วยในการลดการสูญเสียวัตถุดิบต่ำ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- OH หรือ Open Hearth Furnace เป็นวิธีที่ใช้เตาหลอมความร้อนจากเชื้อเพลิงเป็นตัวกระตุ้นให้ละลาย
- BO หรือ Basic Oxygen Furnace เป็นเตาหลอมเหล็กที่ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีในการหลอม โดยใช้ Oxidize, Carbon, Silicon ลงไปหลอมรวมแล้วกำจัดสิ่งเจือปนด้วยกระบวนการ Oxidation
เมื่อเห็นแล้วว่า เหล็กเส้นมีกระบวนการ และมาตรฐาน ที่เข้มงวด ดังนั้นแล้วในด้านราคาเหล็กเส้น จึงเป็นอีกสิ่งที่ควรจะเรียนรู้และเปรียบเทียบจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภคเอง เป็นต้น
ข้อแตกต่าง เหล็กเส้นกลม VS เหล็กเส้นข้ออ้อย มีอะไรบ้าง?
- ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดมากที่สุด คือเหล็กเส้นกลมมีผิวเรียบ ส่วนข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีผิวไม่เรียบ มีรอยบั้งเป็นปล้อง ๆ ตลอดเส้น
- ความนิยมการนำมาใช้งานของเส้นกลมมักนำไปใช้ทำปลอกเสา งานที่ไม่ต้องใช้การรับน้ำหนักมากนัก ส่วนข้ออ้อย มักนิยมใช้ในงานที่ต้องรับน้ำหนักเพื่อให้โครงสร้างแข็งขึ้น
- การใช้งานกับงานเสริมคอนกรีตไม่อาจจะทำแยกกันได้เนื่องจาก เส้นกลมไม่มีแรงยึดเหนี่ยวได้ดีเท่าเหล็กข้ออ้อย จึงต้องนำมาใช้งานเสริมรวมกันเพื่อความแข็งแรงต่อการยึดเกาะ
- ชั้นคุณภาพในการรับแรงดึง เหล็กเส้นกลม มีเพียงชั้นเดียวคือ SR24 ส่วนชั้นคุณภาพข้ออ้อย มี 3 ประเภทคือ SD30, SD40, SD50
- มาตรฐานที่ใช้งานกันต่างกัน โดยเส้นกลม ใช้ มอก. 20-2559 ส่วนข้ออ้อย 24-2559
- ลักษณะการนำไปใช้งาน แตกต่างกัน เพราะเส้นกลมเหมาะกับงานโครงสร้างทั่วไป ข้ออ้อย เหมาะกับงานอาคารสูง, คอนโดมิเนียม, งานสะพาน, ถนน, ที่พักอาศัย เป็นต้น
SBB เช็ก ราคาเหล็กเส้นวันนี้ ได้แบบเรียลไทม์
ผู้อ่านสามารถ อัปเดตและเช็ก ราคาเหล็กเส้น อยู่ที่เท่าไหร่ วันนี้มีคำตอบ ได้ที่สตีลเบสท์บาย โดยอัปเดตราคาจากตาราง 24 ชั่วโมง ที่นี่ ราคาประจำวันนี้ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567
รายการ เหล็กเส้น | น้ำหนัก/กิโลกรัม | ราคา/กก. (บาท/กก.) | ราคา/เส้น |
เหล็กเส้น RB6 | 2.22 กก. | 19.79 | 43.94 |
เหล็กเส้น RB9 | 4.99 กก. | 19.28 | 96.19 |
เหล็กเส้น DB12 | 8.88 กก. | 18.45 | 163.86 |
เหล็กเส้น DB16 | 15.78 กก. | 18.25 | 287.94 |
เหล็กเส้น DB20 | 24.66 กก. | 18.25 | 449.97 |
เหล็กเส้น DB25 | 38.53 กก. | 18.45 | 711.00 |
ราคาปลีกนี้เป็นเพียงราคาเงินสด รับเอง ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบอีกครั้งก่อนสั่งซื้อ)
เช็ก ราคาเหล็กเส้นวันนี้ อัปเดต ได้ทุกวันที่ SBB
พฤติกรรมลูกค้าสมัยนี้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เรียกได้ว่า ของ่ายไว้ก่อน ไม่ต้องยุ่งยาก สามารถเช็กราคาได้ทุกวัน ไม่ว่าอยู่ที่บ้าน ไซต์งานก่อสร้างหรือ Construction Site พักผ่อนต่างจังหวัด ต้องการเช็กราคาได้เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สตีลเบสท์บาย มองเห็น ทุก ๆ ความต้องการ เพราะเรามีระบบที่ให้ข้อมูลราคาอย่างเที่ยงตรง และเรียลไทม์ โดยไม่ต้องลงทะเบียนสมัครสมาชิกให้วุ่นวาย เพียงเลือก สินค้าที่ต้องการเช็ก คลิกดูตารางราคาได้เลย โดยระบบจะมาพร้อม การแสดง เปอร์เซ็นต์ % เปลี่ยนแปลงย้อนหลัง สำหรับผู้ซื้อที่ติดตามข่าวสารเหล็ก โดยให้ข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 วัน 7วัน และ 30 วัน เรียกว่า สะดวกสบาย จะเช็กราคาที่ไหนก็ได้ แค่ นึกถึง Steel Best Buy คลิกเช็กราคาประจำวันทั้งหมดได้ที่นี่ คลิกเลย
ที่สตีลเบสท์บายมีบริการจำหน่าย เหล็กเส้น ตั้งแต่ขนาด 2 หุน ขึ้นไป ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตาม ราคาเหล็กเส้น 2 หุน ได้ที่นี่ หน้าเว็บไซต์ เช็กราคาเหล็กประจำวัน
หากต้องการ เช็กราคาเหล็กเส้น วันนี้ ตลอด 24 ชั่วโมง ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือสอบถามสั่งซื้อ ติดต่อเราโดยตรงที่ไลน์ แบบไม่ต้องรอนาน เพราะเราให้ราคาภายใน 15 นาที แค่เพิ่มเพื่อน LINE ID ไลน์ @steelbestbuy
และให้ผู้ซื้อสะดวกมากขึ้น สตีลเบสท์บาย มีบริการ SBB Prompt สั่งก่อนเที่ยง ส่งสินค้าวันถัดไป ที่ตอบสนองการใช้งานของลูกค้ากรณีต้องการใช้สินค้าแบบเร่งด่วนโดยลูกค้าสั่งซื้อและชำระเงินก่อน เวลา 12.00 น.
เราจัดส่งสินค้าในวันถัดไปทันที (เฉพาะเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
โดยข้อดีของบริการของเรามีดังต่อไปนี้
- ได้ใบเสนอราคา ภายใน 15 นาที
- สั่งก่อนเที่ยง ส่งสินค้าวันถัดไป
- เปรียบเทียบราคาเหล็ก ได้ราคาก่อนใคร
- จัดส่งไว งานเสร็จเร็วไม่ต้องรอของนาน
*เงื่อนไขการจัดส่งเฉพาะสินค้าที่มีเครื่องหมาย Logo SBB Prompt เท่านั้น
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่